{"items":["5ff14dd2cf36410017c375cf","5ff14ccc098fc20017bce131","5ff14ccc098fc20017bce130"],"styles":{"galleryType":"Columns","groupSize":1,"showArrows":true,"cubeImages":true,"cubeType":"max","cubeRatio":1.7777777777777777,"isVertical":true,"gallerySize":30,"collageAmount":0,"collageDensity":0,"groupTypes":"1","oneRow":false,"imageMargin":5,"galleryMargin":0,"scatter":0,"rotatingScatter":"","chooseBestGroup":true,"smartCrop":false,"hasThumbnails":false,"enableScroll":true,"isGrid":true,"isSlider":false,"isColumns":false,"isSlideshow":false,"cropOnlyFill":false,"fixedColumns":0,"enableInfiniteScroll":true,"isRTL":false,"minItemSize":50,"rotatingGroupTypes":"","rotatingCropRatios":"","columnWidths":"","gallerySliderImageRatio":1.7777777777777777,"numberOfImagesPerRow":3,"numberOfImagesPerCol":1,"groupsPerStrip":0,"borderRadius":0,"boxShadow":0,"gridStyle":0,"mobilePanorama":false,"placeGroupsLtr":false,"viewMode":"preview","thumbnailSpacings":4,"galleryThumbnailsAlignment":"bottom","isMasonry":false,"isAutoSlideshow":false,"slideshowLoop":false,"autoSlideshowInterval":4,"bottomInfoHeight":0,"titlePlacement":["SHOW_ON_THE_RIGHT","SHOW_BELOW"],"galleryTextAlign":"center","scrollSnap":false,"itemClick":"nothing","fullscreen":true,"videoPlay":"hover","scrollAnimation":"NO_EFFECT","slideAnimation":"SCROLL","scrollDirection":0,"scrollDuration":400,"overlayAnimation":"FADE_IN","arrowsPosition":0,"arrowsSize":23,"watermarkOpacity":40,"watermarkSize":40,"useWatermark":true,"watermarkDock":{"top":"auto","left":"auto","right":0,"bottom":0,"transform":"translate3d(0,0,0)"},"loadMoreAmount":"all","defaultShowInfoExpand":1,"allowLinkExpand":true,"expandInfoPosition":0,"allowFullscreenExpand":true,"fullscreenLoop":false,"galleryAlignExpand":"left","addToCartBorderWidth":1,"addToCartButtonText":"","slideshowInfoSize":200,"playButtonForAutoSlideShow":false,"allowSlideshowCounter":false,"hoveringBehaviour":"NEVER_SHOW","thumbnailSize":120,"magicLayoutSeed":1,"imageHoverAnimation":"NO_EFFECT","imagePlacementAnimation":"NO_EFFECT","calculateTextBoxWidthMode":"PERCENT","textBoxHeight":26,"textBoxWidth":200,"textBoxWidthPercent":65,"textImageSpace":10,"textBoxBorderRadius":0,"textBoxBorderWidth":0,"loadMoreButtonText":"","loadMoreButtonBorderWidth":1,"loadMoreButtonBorderRadius":0,"imageInfoType":"ATTACHED_BACKGROUND","itemBorderWidth":0,"itemBorderRadius":0,"itemEnableShadow":false,"itemShadowBlur":20,"itemShadowDirection":135,"itemShadowSize":10,"imageLoadingMode":"BLUR","expandAnimation":"NO_EFFECT","imageQuality":90,"usmToggle":false,"usm_a":0,"usm_r":0,"usm_t":0,"videoSound":false,"videoSpeed":"1","videoLoop":true,"jsonStyleParams":"","gallerySizeType":"px","gallerySizePx":1000,"allowTitle":true,"allowContextMenu":true,"textsHorizontalPadding":-30,"itemBorderColor":{"themeName":"color_12","value":"rgba(209,209,209,0)"},"showVideoPlayButton":true,"galleryLayout":2,"calculateTextBoxHeightMode":"MANUAL","targetItemSize":1000,"selectedLayout":"2|bottom|1|max|true|0|true","layoutsVersion":2,"selectedLayoutV2":2,"isSlideshowFont":true,"externalInfoHeight":26,"externalInfoWidth":0.65},"container":{"width":300,"galleryWidth":305,"galleryHeight":0,"scrollBase":0,"height":null}}
Climbing at San Nok Wua mountain
Climbing at San Nok Wua mountain which is 1,767m above sea level, Khoa Laem National Park, Kanchanaburi.

ความสูงที่ยอด +1,767
สถานที่ อุทยานแห่งชาติเขาแหลม (ป้อมปี่)
ความยาก 7.5/10 (ออกกำลังกายมาบ้างเล็กน้อย)
ระยะทาง 6-7 ชั่วโมง (ขาขึ้น) ช่วงเวลาที่เหมาะสม ตุลาคม-กุมภาพันธ์
สิ่งที่ควรเตรียม ถุงมือ,รองเท้า,อาหารง่ายๆ,กระดาษทิชชู่
สิ่งอำนวยความสะดวกข้างบน ห้องน้ำ,ที่กางเต้น,ที่ผูกเปล,ลำธารดื่มได้
จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว 70 คน / วัน
ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม เข้าอุทยานแห่งชาติฯ คนละ = 40 บาท ค่าใช้สถานที่ คนละ = 30 บาท ค่าเจ้าหน้าที่ 1 คน / 7 นักท่องเที่ยว = 1,000 ค่าลูกหาบ 30kg (ขึ้น-ลง) = 1,400 ค่ารถ รับ-ส่ง ปากทางขึ้นเขา = 1,000 บาท

+1,767 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง หลังๆมาผมพยายามจำยอดเขาที่ไปเดินเป็นระดับความสูง. มันเหมือนรหัสประจำตัวรหัสบัตรประชาชนของภูเขา ภูเขาในบ้านเรายังไงเลขก็รันไปไม่เกิน +2,565 ที่ดอยอินทนนท์แน่นอนตามสภาพภูมิประเทศ ค่าระดับเหล่านี้เริ่มจากระดับน้ำทะเลปานกลาง คือ ระดับเฉลี่ยของน้ำทะเลที่สูงที่สุดกับต่ำที่สุด ในระยะเวลาที่กำหนด 18.6ปี ตามวัฎจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกจะมีความสูงไม่เท่ากัน

สันหนอกวัว ยอดเขาที่เขาว่ากันว่าหน้าตาเหมือนหนอกของวัว แต่ไม่รู้เป็นหนอกวัวเลี้ยงตามบ้านหรือวัวกระทิงเพราะบนยอดเขานี้พบรอยเท้าและมูลวัวกระทิงจำนวนมากเป็นสถานที่คลอดลูกของมันเจ้าหน้าที่บอกมาอย่างงั้น สันหนอกวัวได้ชื่อว่าสูงที่สุดในเมืองกาญจนบุรี อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลมแต่การเริ่มต้นจะเริ่มที่ป้อมปี่ก็ใกล้ๆกันละ จริงๆแล้วพึ่งเปิดให้คนที่ชอบปีนป่ายได้ขึ้นไปได้ไม่นาน การติดต่อจอง ณ ตอนนี้ยากขึ้นกว่าหลายปีก่อนที่ผมเคยขึ้นแต่ก็เป็นไปตามระเบียบของกรม แต่ไม่ยากเท่าเขาช้างเผือกเจ้าหน้าที่ดีลูกหาบมี การเดินทางจากกรุงเทพฯประมาณ 5-6 ชั่วโมง

มานอนค้างที่ป้อมปี่ครึ่งคืนเช้าล้างหน้าแปลงฟันจัดของแบ่งของให้ลูกหาบ เคลียร์ค่าใช้จ่ายกับอุทยานใครจะเช่าอะไรอุทยานมีให้เช่าตรงนี้ จากนั้นประมาณ 9 โมง ล้อหมุนขึ้นรถเจ้าหน้าที่ไปที่จุดเริ่มเดิน ซึ่งจะอยู่บริเวณกลางทางไปสถานีเรดาร์ทางเข้าจะเหมือนไม่ใช้ทางเข้าแบบว่าอยู่ดีๆลงข้างทาง แล้วเดินหายเข้าไปในป่าเฉยๆ ดีนะเดียวนี้มีป้ายบอกดูดีมาก ถ่ายรูปห้าหกรูปเริ่มเดินกันเลย ช่วงแรกเป็นช่วงปรับตัวเหมือนออกกำลังกายก็ต้องมีวอร์มร่างกายเดินป่าก็เหมือนกันยิ่งพึ่งตื่นนอนด้วยร่างกายคือยังไม่พร้อมมากๆมันยังไม่เข้าที่เข้าทาง ทางเดินช่วงแรกก็ยังไม่ชันมาก อากาศยามเช้าเย็นสบายสภาพป่าไม่ทึบต้นไม้ขนาดไม่ใหญ่มีแสงลอดลงมาเป็นช่วงๆสวยงาม ทางเดินชัดเจนไม่น่าหลงทางง่ายๆ ผ่านเขาลูกเตี้ยๆหลายลูก ขึ้นๆลงๆ ขึ้นขึ้น ลง มันจะหนักไปทางขึ้น ซักพักขาเริ่มเข้าที่ก็ไม่ค่อยเหนื่อยเท่าไรเดินจิกไม้เท้านำไปเรื่อยๆ ส่วนตัวเองก็

ซ้อมวิ่งมาบ้างอาทิตย์นึงประมาณ 10 โล ทีมเราไปกันทั้งหมด 9 คน ลูกหาบ 2 เจ้าหน้าที่ 1 พวกเรา 6 ที่รู้จักกัน 4 คน อีก 2 คนมาจอยทริปแชร์ค่าใช้จ่าย เดิมจะใช้ลูกหาบแค่คนเดียวแต่น้อง 2 คนเขามาขอแจมเลยต้องเพิ่มลูกหาบ เนินหมาถอย ถึงจุดนี้เจ้าหน้าที่แนะให้หยุดทานข้าวตรงนี้เราพกข้าวหมูกระเทียมไข่ดาวกันมาคนละกล่องรสชาติใช้ได้เลยสั่งเมื่อเช้าที่โรงอาหารอุทยานทุกกลุ่มหยุดตรงนี้ ทานข้าวเสร็จตบด้วยส้มเขียวหวานคนละลูกอิ่มกำลังพอดีก่อนจะเริ่มง่วงกันรีบตัดสินใจลุกแล้วไปต่อ หลังจากเนินหมาถอยคือหนังคนละม้วนกับที่เดินมาให้คุณลืมเรื่องราวที่ผ่านมาได้เลย เพราะมันจะชันขึ้นอีกเท่าตัว แต่ก็ไม่ยากเกินเพราะมีเชือกให้จับให้ดึงขึ้นยิ่งไม่มีของแบกก็ยิ่งขึ้นสบายๆพอสนุก เราไต่ระดับตามเชือกขึ้นไปเรื่อยๆสองข้างทางจะเริ่มรู้สึกว่าสูงขึ้นเหนือยอดไม้ข้างๆ ลมเริ่มพัดผ่านเย็นสบายมองกลับไปด้านหลังไกลออกไปเห็นสถานีเรดาร์ของทหาร มีกล้วยไม้ป่าขึ้นตามต้นไม้ตลอดทาง กลุ่มไหนมีแรงก็ออกนำกลุ่มไหนหมดแรงก็จอดพักตามโคนต้นไม้สลับกันไป แต่ละกลุ่มพอเดินผ่านกันก็ยิ้มให้กันเบาๆไม่ได้พูดคุยอะไรกัน หลังจากนั้นจะเจอกับป่าหญ้าสูงท่วมหัวมองข้างๆแถบไม่เห็นอะไรนอกจากหญ้าไม่มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุม

บริเวณนี้แนะนำว่าให้รีบเดินเพราะค่อนข้างร้อนและคันถ้าหยุดพักในป่าหญ้าแบบนี้คงไม่ค่อยดี เดินมาเรื่อยๆช่วงสุดท้ายจะเป็นทางริมเหวซ้ายเป็นภูเขาขวาเป็นผาชันมองออกไปวิวสวยมากเห็นเขาเรดาร์ไกลๆ ตรงนี้ต้องเดินอย่างระมัดระวังทางแคบมากและอันตราย หลุดจากนั้นมาก็เข้าป่าช่วงสุดท้ายจะเป็นเหมือนห้องโถงใหญ่ๆให้เราพัก สภาพจะคล้ายๆป่าช่วงแรกแต่โปร่งกว่ามีต้นไม้ถูกไฟป่าเผาล้มหลายต้น ทุกกลุ่มเหมือนจะหยุดพักที่ตรงนี้อีกครั้ง จากจุดนี้ไปไม่ไกลก็ถึงที่ตั้งแคมป์แล้ว ครั้งที่สองแล้วที่ขึ้นมาถึงจุดนี้ เหมือนเปิดประตูบ้านออกมาเจอแสงแดด จากความมืดสู่แสงสว่างเวลานี้ก็บ่ายแก่ๆแล้ว ภูเขาหญ้าลูกเล็กมีต้นไม้ขึ้นเคียงกันด้านซ้าย ลมพัดแรงขึ้นจนผิวหน้ารู้สึกเย็นและร้อนในเวลาเดียวกัน ถัดมาด้านซ้ายเป็นมุมปล่อยทุกข์ เดินมาอีกหน่อ¬ยเป็นลานหญ้าที่ถูกใช้งานจนเหลือแต่ผิวดิน มีบางกลุ่มนั่งพักอยู่ก่อนแล้ว เราน่าจะมาถึงเป็นชุดกลางๆของนักเดินป่าทั้งหมดในวันนี้ ลูกหาบโบกมือพร้อมส่งเสียงแต่ไกลที่ชายป่าด้านบน ส่งสัญญาณให้เราตามขึ้นไป พี่ลูกหาบเดินล่วงหน้ามาถึงก่อนเพื่อเลือกที่ตั้งแคมป์ไว้ให้ เป็นพื้นที่ไม่ใหญ่มากกางได้สาม สี่เต็นท์ ไม่ถึงกับราบเรียบนักมีต้นไม้ขึ้นพอบังแดดและยึดผ้ากันน้ำค้าง รอจนสมาชิกครบบางคนถึงแคป์ก็ล้มตัวนอนลงบนพื้นดินทันทีไม่มีเสียงตอบรับใคร

สักพักทั้งกลุ่มได้ยินแต่เสียงลมและใบไม้เคลื่อนไหว ส่วนคนที่พอมีแรงก็เริ่มรื้อของออกจากเป้ ของกินถูกนำมารวมกันเป็นกองกลางวางไว้บนกราวชีสซึ่งอยู่ใต้ฟลายชีสสีเหลืองรูปร่างแหว่งๆที่ถูกช่วยกันขึงพอบังแดดยามบ่ายได้ ที่นี่ไม่มีตู้เย็นก็มีแต่ฟลายชีสเนียละที่พอจะช่วยยืดระยะเวลาอาหารไม่ให้บูดไปเสียก่อน พี่ลูกหาบค่อยๆเดินลงไปในหุบเขาด้านหลังเพื่อหาขอนไม้แห้งมาจุดไฟ “จะลงไปดูลำธารไหม” พี่ลูกหาบถาม มาคราวก่อนเมื่อ 2 ปีที่แล้วผมเคยลงไปอาบน้ำที่ลำธารด้านล่างมาแล้วครั้งนึงยังจำได้ถึงความเย็นของน้ำเหมือนพึ่งออกมาจากตู้เย็นใหม่ๆ อาบแล้วสดชื่นดีมากใสสะอาดดื่มได้เลย ครั้งนี้ก็เลยไม่อยากพลาดถึงแม้ว่าจะเดินไปเดินกลับต้องขึ้นลงเหวลึกเล่นเอาเหนื่อย ผมคงไม่ขันติดตัวมาเดินป่าด้วยมีก็แต่หม้อด้ามจับยาวๆถนัดมือแทน ทางเดินลงไปต้องมีคนนำทางลงไปด้วยเพราะอาจทำให้เราหลังได้ แต่เวลานี้ยังไม่มืดก็เดินค่อนข้างง่ายผ่านป่าโปรงๆไตร่ลงมา แกลอนสีขาวที่ตัวพี่ลูกหาบแกว่งไปตามจังหวะการเดินของแกเราตามแกไปติดๆพูดคุยกันไปตลอดทางไม่นานก็ถึงตาน้ำ “นั้นไงตาน้ำ”พลันชี้มือไปข้างหน้าห่างประมาณสองเมตร ผมลองเอามือสัมผัสดูไม่ต่างอะไรกับน้ำดืมที่แช่อยู่ในตู้เย็น ค่อยๆเอาหม้อที่เตรียมมาอาบน้ำตักน้ำขึ้นลองดืม รสชาติบริสุทธิมีกลิ่นของธรมมชาติปะปนอยู่จางๆยากจะอธิบาย นี่ละมั้งน้ำบริสุทธิที่ได้จากธรรมชาติไม่ใช้น้ำแร่จากในขวด พี่ลูกหาบแนะให้ผมเดินลงไปปลายน้ำอีกหน่อยน้ำจะลึกขึ้นสามารถตักอาบได้แต่คงว่ายไม่ได้ ส่วนแกจะตักน้ำใส่แกลอนที่เตรียมมาบริเวณนี้

ผมเดินไปตามคำแนะนำเลาะข้างลำธารสีน้ำตาลอ่อนๆ บางช่วงมีขอนไม้ใหญ่ล้มขวางแต่ลำธารก็เล็ดลอดไปได้ตามที่มันอยากจะไป มองกลับหลังมาเห็นพี่ลูกหาบตัวเล็กลงนิดเดียวก็พอแล้วที่จะเดินต่อ นั่งลงบนขอนไม้เล็กๆเท้าสองข้างจุมลงลำธารหมอที่เตรียมมาถูกใช้งาน น้ำเย็นจัดแบบนี้เล่นเอาหน้าชา ผมไม่ได้ใช้สบู่หรือแชมพูอาบน้ำเพราะจะมีผลเสียกับธรรมชาติบริสุทธิ์แบบนี้ได้แต่ใช้น้ำเปล่าๆอาบไปที่ตัวขัดๆถูกเอาความเหนื่อยล้ามาทั้งวันออก เงือยหน้าขึ้นมองไปบนยอดไม้ไหวเอ็นอ่อนไปตามกระแสลม รู้แล้วว่านี่ละ “ธรรมชาติ”